วันเสาร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2551

การป้องกันหอยเชอรี่

หอยเชอรี่ หอยโข่งอเมริกาใต้ หรือหอยเป๋าฮื้อน้ำจืด มีลักษณะเหมือนหอยโข่งแต่ตัวโตกว่า จากการดูด้วยตาเปล่าสามารถแบ่งหอยเชอรี่ ได้ 2 พวก คือ พวกที่มีเปลือกสีเหลืองปนน้ำตาล เนื้อและหนวดสีเหลืองและพวกมีเปลือกสีเขียวเข็มปนดำและมีสีดำจาง ๆ พาดตามความยาว เนื้อและหนวดสีน้ำตาลอ่อน
หอยเชอรี่ เจริญเติบโตและขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ลูกหอยอายุเพียง 2-3 เดือน จะจับคู่ผสมพันธุ์ได้ตลอดเวลา หลังจากผสมพันธุ์ได้ 1-2 วัน ตัวเมียจะวางไข่ในเวลากลางคืน โดยคลานไปวางไข่ตามที่แห้งเหนือน้ำ เช่นตามกิ่งไม้ ต้นหญ้าริมน้ำ โคนต้นไม้ริมน้ำข้าง ๆ คันนา และตามต้นข้าวในนา ไข่มีสีชมพูเกาะติดกันเป็นกลุ่มยาว 2-3 นิ้ว แต่ละกลุ่มประกอบด้วยไข่เป็นฟองเล็ก ๆ เรียงตัวเป็นระเบียบสวยงามประมาณ 388-3,000 ฟอง ไข่จะผักออกเป็นตัวหอยภายใน 7-12 วัน หลังวางไข่

หอยเชอรี่กินพืชที่มีลักษณะนุ่มได้เกือบทุกชนิด เช่นสาหร่าย ผักบุ้ง ผักกระเฉด แหน ตัวกล้าข้าว ซากพืชน้ำ และซากสัตว์ที่เน่าเปื่อยในน้ำ โดยเฉพาะต้นข้าวในระยะกล้าและที่ปักดำใหม่ ๆ ไปจนถึงระยะแตกกอหอยเชอรี่จะชอบกินต้นข้าวในระยะกล้าที่มีอายุประมาณ 10 วัน มากที่สุด โดยเริ่มกันส่วนโคนต้นที่อยู่ใต้น้ำเหนือจากพื้นดิน 1-11/2 นิ้ว จากนั้นกินส่วนใบที่ลอยน้ำจนหมดใช้เวลากินทั้งต้นทั้งใบนานประมาณ 1-2 นาที


หอยเชอรี่เป็นสัตว์ศัตรูข้าวที่สำคัญมาก สามารถเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ทนทาต่อความแห้งแล้งและยังลอยตัวไปตามน้ำไหลได้อีกด้วย จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องป้องกันกำจัดหอยเชอรี่อย่างต่อเนื่อง และจะให้ได้ผลดียิ่งขึ้นควรทำหลาย ๆ วิธีผสมผสานกัน ดังนี้
1. วิธีกล
เป็นวิธีที่ใช้ได้ผลดีที่สุด ประหยัด ปลอดภัย และไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
1.1 การจัดเก็บทำลาย เมื่อพบตัวหอยและไข่ให้เก็บทำลายทันที

1.2 การดักและกั้น
- ตามทางน้ำผ่าน ให้ใช้สิ่งกีดขวางตาข่ายเฝือก ภาชนะดักปลา ดักจับหอยเชอรี่
- ลูกหอยที่ฟักใหม่ ๆ สามารถลอยน้ำได้ ควรใช้ตาขายถี่ ๆ กั้นขณะสูบน้ำเข้าข้าว หรือกั้นบริเวณทางน้ำไหล
1.3 การใช้ไม้หลักปักในนาข้าว
การล่อให้หอยมาวางไข่โดยใช้หลักปักในที่ลุ่มหรือทางที่หอยผ่าน เมื่อหอยเข้ามาวางไข่ตามหลักที่ปักไว้ทำให้ง่ายต่อการเก็บไข่หอยไปทำลาย
1.4 การใช้เหยื่อล่อ พืชทุกชนิดใช้เป็นเหยื่อล่อหอยเชอรี่ได้ หอยจะเข้ามากินและหลบซ่อนตัวพืชที่หอยชอบกิน เช่น ใบผัก ใบมันเทศ ใบมันสำปะหลัง ใบมะละกอ หรือพืชอื่น ๆ ที่มียางขาวคล้ายน้ำนม
2. โดยชีววิธี
2.1 ใช้ศัตรูธรรมชาติช่วยกันกำจัด
ฝูงเป็ดเก็บกินลูกหอย
2.2 อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ
โดยปกติในธรรมชาติมีศัตรูหอยเชอรี่อยู่หลายชนิดที่ควรอนุรักษ์ เช่น นกกระยาง นกกระปูด นกอีลุ้ม นกปากห่าง และสัตว์ป่าบางชนิด ซึ่งสัตว์เหล่านี้นอกจากจะช่วยทำลายหอบเชอรี่แล้ว ยังทำให้ธรรมชาติสวยงามอีกด้วย
3. การใช้สารเคมี
กรณีที่หอยระบาดมาก หรือในแหล่งที่ไม่สามารกำจัดด้วยวิธีการอื่นได้ สารเคมียังมีความจำเป็น แต่มีข้อควรระวังเรื่องเปลือกหอยที่ตายอาจจะบาดเท้าผู้ที่ลงไปปฏิบัติงานบริเวณนั้นได้
3.1 สารคอปเปอร์ซัลเฟต (จุนสี) ชนิดผงสีฟ้าเป็นสารที่ใช้ป้องกันและกำจัดหอยเชอรี่ได้เป็นอย่างดีมีประสิทธิภาพสูง ราคาถูกและไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้สารนี้ในอัตรา 1 ก.ก./ไร่ ละลายน้ำแล้วฉีดพ่นด้วยเครื่องพ่นสารเคมี หรือรดด้วยบัวให้ทั่วแปลงนาที่มีระดับน้ำสูงไม่เกิน 5 ซ.ม. สามารถกำจัดหอยเชอรี่ได้ภายใน 24 ช.ม.
3.2 สารเคมีนิโคลซาไมด์ 20 % อีซี (ไบลูไซด์) อัตรา 160 ซี.ซี./ไร่ ผสมกันน้ำแล้วฉีดพ่นในนาข้าวที่มีระดับน้ำสูงไม่เกิน 5 ซ.ม.
3.3 สารเคมีเมทิลดีไฮด์ ชื่อการค้า แองโกลสลัก เป็นเหยื่อพิษสำเร็จรูปใช้หว่านในนาข้าว อัตรา 0.5 ก.ก./ไร่

เนื้อหอยเชอรี่มีโปรตีนสูงถึง 34-53 เปอร์เซ็นต์ไขมัน 1.66 เปอร์เซ็นต์ ใช้ประกอบอาหารได้หลายอย่างหรือทำน้ำปลาจากเนื้อหอยเชอรี่ ใช้ทำเป็นอาหารสัตว์เลี้ยง เช่น เป็ด ไก่ สุกร เป็นต้น เปลือกก็สามารถปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินได้ ตัวหอยทั้งเปลือกถ้านำไปฝั่งบริเวณทรงพุ่มไม้ผล เมื่อเน่าเปื่อยก็จะเป็นปุ๋ยทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตเร็ว และได้ผลผลิตดี
ไม่ควรบริโภคเนื้อหอยเชอรี่ในบริเวณที่อยู่ใกล้โรงงานอุตสาหกรรมที่ปล่อยน้ำเสีย หรือบริเวณพื้นที่ที่มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

ไม่มีความคิดเห็น: